วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

มาดูจุดเด่นของอาร์เอฟไอดี(RFID) กันต่อครับ

RFID TAG


RFID เป็นคำย่อมาจาก Radio Frequency identification หรือเทคโนโลยีการชี้เฉพาะด้วยคลื่นวิทยุอาร์เอฟไอดี เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 1980 เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่ระบบบาร์โคด ทำไม่ได้ อาร์เอฟไอดี เป็นระบบติดตามโดยอาศัยคลื่นวิทยุในการระบุหรือค้นหาวัตถุ ซึ่งจะมีการติดการโค้ดหรือชิปไว้บนวัตถุนั้น ๆ ชิปดังกล่าวจะส่งคลื่นวิทยุออกมาทำให้ทราบว่าสินค้าหรือวัตถุนั้น ๆ อยู่ที่ใด และมีการเก็บข้อมูลไว้ในเครือข่ายสามารถตรวจสอบได้



ทั้งนี้องค์ประกอบในระบบ RFID มี 2 ส่วนหลักคือ

1. แทกส์ (Tages) มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า Transponder, Transmitter & Responder เป็นฉลากที่ผนึกติดกับวัตถุ ใช้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุชิ้นนั้น โครงสร้างภายในแทกส์ประกอบด้วย ชิป และขดลวด ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเสาอากาศที่คอยรับ-ส่งสัญญาณ แทกส์มี 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ Passive RFID Tags แทกส์ชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องรับแหล่งจ่ายไฟใดๆ เพราะมีวงจรกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขนาดเล็กเป็นแหล่งจ่ายไฟในตัวอยู่แล้ว ระยะการสื่อสารข้อมูลที่ทำได้สูงสุด 1.5 เมตร มีหน่วยความจำขนาดเล็ก (ทั่วไปประมาณ 32 – 128 บิต) มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ราคาต่อหน่วยต่ำ และ Active RFID Tags แท็กส์ชนิดนี้จะใช้แหล่งจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก มีหน่วยความจำภายใจขนาดใหญ่ได้ถึง 1 เมกะไบต์ มีระยะการสื่อสารข้อมูลที่ทำได้สูงสุดถึง 6 เมตรแม้ว่าแท็กส์ชนิดนี้จะมีข้อดีอยู่หลายข้อแต่ก็มีข้อเสียอยู่ด้วยเหมือน กัน เช่น มีราคาต่อหน่วยแพง มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีระยะเวลาในการทำงานที่จำกัด


2. เครื่องอ่าน (Reader) มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า Transceiver, Transmitter & Receiver หน้าที่ของเครื่องอ่านคือ การเชื่อมต่อเพื่ออ่านข้อมูลจากแทกส์



ส่วนจุดเด่นของอาร์เอฟไอดีที่สำคัญ คือ

1. การอ่านข้อมูลของฉลากที่ได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัส


2. สามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ทัศนวิสัยไม่ดี หรือสามารถอ่านค่าได้ในขณะที่วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น สินค้าที่กำลังเคลื่อนที่อยู่บนสายพานการผลิต


3. ทนต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก


4. สามารถอ่านข้อมูลได้ถูกต้องรวดเร็ว


5. สามารถสื่อสารผ่านตัวกลางได้หลายอย่างเช่น น้ำ, พลาสติก, กระจก หรือวัสดุทึบแสงอื่นๆในขณะที่บาร์โค้ดทำไม่ได้


ที่มา: http://www.rfid.in.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น