บิต บิตคืออะไร คำว่าบิตในที่นี้ไม่ใช่บิททอเร้นท์นะ
บิต (bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล และทฤษฎีข้อมูล
ข้อมูลหนึ่งบิต มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ
* 0 (ปิด)
* 1 (เปิด)
เคลาด์ อี แชนนอน (Claude E. Shannon) เริ่มใช้คำว่า บิต ในงานเขียนของเขาในปี พ.ศ. 2491 โดยย่อจากคำเต็มคือ binary digit (หรือ binary unit) แชนนอนได้กล่าวถึงที่มาของคำนี้ว่ามาจาก จอห์น ดับบลิว ทูคีย์ (John W. Tukey)
ไบต์ (byte) เป็นกลุ่มของบิต ซึ่งเดิมมีได้หลายขนาด แต่ปัจจุบัน มักเท่ากับ 8 บิต ไบต์ขนาด 8 บิต มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ออกเท็ต (octet) สามารถเก็บค่าได้ 256 ค่า (28 ค่า, 0 ถึง 255) ส่วนปริมาณ 4 บิต เรียกว่านิบเบิล (nibble) สามารถแทนค่าได้ 16 ค่า (24 ค่า, 0 ถึง 15)
เวิร์ด (word) เป็นคำที่ใช้เรียกจำนวนบิตที่มากขึ้น แต่ก็ไม่มีขนาดเป็นมาตรฐานตายตัว บนเครื่องคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรม IA-32 จำนวน 16 บิตจะเรียกว่าเวิร์ด ในขณะที่ 32 บิตเรียกว่า ดับเบิลเวิร์ด (double word) หรือ dword ในขณะที่สถาปัตยกรรมอื่น ๆ หนึ่งเวิร์ดมีค่าเท่ากับ 32 บิต, 64 บิต หรือค่าอื่น ๆ
ในระบบโทรคมนาคม หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการส่งนิยมใช้หน่วยในรูปของ บิตต่อวินาที (bps - bits per second)
บิตเป็นหน่วยวัดข้อมูลเล็กที่สุดที่ใช้กันทั่วไป แต่ในขณะนี้มีการวิจัยกันในเรื่องการคำนวณทางควอนตัม (quantum computing) ซึ่งใช้หน่วยวัดข้อมูลเป็น คิวบิต (qubit) (quantum bit)
หน่วยนับ
* 1 กิโลบิต(Kb) = 1000 บิต หรือ 1024 บิต
* 1 เมกะบิต(Mb) = 1000 กิโลบิต หรือ 1024 กิโลบิต
* 1 จิกะบิต(Gb) = 1000 เมกะบิต หรือ 1024 เมกะบิต
* 1 เทราบิต(Tb) = 1000 จิกะบิต หรือ 1024 จิกะบิต
เพิ่มเติม
คำว่า 0 (ปิด), 1 (เปิด) นี้ ถ้าสังเกตปุ่มpower ของเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ ก็จะเห็นเป็นเลขศูนย์(0) และเลขหนึ่ง(1) ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ปิด/เปิด นั่นเองครับ
ที่มา: จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บิต (bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล และทฤษฎีข้อมูล
ข้อมูลหนึ่งบิต มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ
* 0 (ปิด)
* 1 (เปิด)
เคลาด์ อี แชนนอน (Claude E. Shannon) เริ่มใช้คำว่า บิต ในงานเขียนของเขาในปี พ.ศ. 2491 โดยย่อจากคำเต็มคือ binary digit (หรือ binary unit) แชนนอนได้กล่าวถึงที่มาของคำนี้ว่ามาจาก จอห์น ดับบลิว ทูคีย์ (John W. Tukey)
ไบต์ (byte) เป็นกลุ่มของบิต ซึ่งเดิมมีได้หลายขนาด แต่ปัจจุบัน มักเท่ากับ 8 บิต ไบต์ขนาด 8 บิต มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ออกเท็ต (octet) สามารถเก็บค่าได้ 256 ค่า (28 ค่า, 0 ถึง 255) ส่วนปริมาณ 4 บิต เรียกว่านิบเบิล (nibble) สามารถแทนค่าได้ 16 ค่า (24 ค่า, 0 ถึง 15)
เวิร์ด (word) เป็นคำที่ใช้เรียกจำนวนบิตที่มากขึ้น แต่ก็ไม่มีขนาดเป็นมาตรฐานตายตัว บนเครื่องคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรม IA-32 จำนวน 16 บิตจะเรียกว่าเวิร์ด ในขณะที่ 32 บิตเรียกว่า ดับเบิลเวิร์ด (double word) หรือ dword ในขณะที่สถาปัตยกรรมอื่น ๆ หนึ่งเวิร์ดมีค่าเท่ากับ 32 บิต, 64 บิต หรือค่าอื่น ๆ
ในระบบโทรคมนาคม หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการส่งนิยมใช้หน่วยในรูปของ บิตต่อวินาที (bps - bits per second)
บิตเป็นหน่วยวัดข้อมูลเล็กที่สุดที่ใช้กันทั่วไป แต่ในขณะนี้มีการวิจัยกันในเรื่องการคำนวณทางควอนตัม (quantum computing) ซึ่งใช้หน่วยวัดข้อมูลเป็น คิวบิต (qubit) (quantum bit)
หน่วยนับ
* 1 กิโลบิต(Kb) = 1000 บิต หรือ 1024 บิต
* 1 เมกะบิต(Mb) = 1000 กิโลบิต หรือ 1024 กิโลบิต
* 1 จิกะบิต(Gb) = 1000 เมกะบิต หรือ 1024 เมกะบิต
* 1 เทราบิต(Tb) = 1000 จิกะบิต หรือ 1024 จิกะบิต
เพิ่มเติม
คำว่า 0 (ปิด), 1 (เปิด) นี้ ถ้าสังเกตปุ่มpower ของเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ ก็จะเห็นเป็นเลขศูนย์(0) และเลขหนึ่ง(1) ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ปิด/เปิด นั่นเองครับ
ที่มา: จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น